เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Bangkok, Bangkok, Thailand
http://thailandonly8-ningtor.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไม้กฤษณา(Agarwood timber.)

ต้นกล้า(Sprout)


ไม้กฤษณา (Agarwood  timber.)

















น้ำมันกฤษณา(Agarwood oil.)







รายละเอียดคร่าวๆ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec.

ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE



ชื่ออื่นๆ : ไม้หอม (ภาคตะวันออก) , กายูกาฮู กายูการู (ปัตตานี-ภาคใต้)กฤษณา(ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) จีน ติ่มเฮียง(ไม้หอมที่จมน้ำ)
 ลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน
กว้างประมาณ 6 ซม. ยา 12 ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว
แกมเขียว ผลเป็นผลแห้งรูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล
สรรพคุณ : เนื้อไม้
ซึ่งเป็นสีดำ และมีกลิ่นหอม คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ ใช้ผสม ยาหอม แก้ลมวิงเวียนศีรษะ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆ
บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ
หมายเหตุ
เนื้อไม้กฤษณาที่ดีนั้น ต้องมีกลิ่นหอม และเป็นสีดำ วิธีที่จะใช้พิสูจน์ว่า คุณภาพของมัน ดีหรือไม่ดี นั้นกระทำได้โดยให้ตัดไม้เป็นท่อน
แล้วให้โยนลงในน้ำ แล้วสังเกตว่าท่อนใดจมน้ำได้ทันที และมีลักษณะเป็นสีดำ แสดงว่าเป็นชนิดดี ที่นิยมใช้ทำยา ซึ่งเรียกว่า
Gharki ท่อนที่ลอยน้ำซึ่งเรียกว่า Samaleh ชนิดนี้เราจะพบหกันทั่วไป และสำหรับท่อนที่ลอบปริ่มน้ำ เรียกว่า Samaleh-i-aala
หรือ Neem Ghaeki จะเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือน้ำตาลอ่อนจะไม่นิยมใช้ในทางยา นอกจากนี้ยังมีวิธีที่จะพิสูจน์อีกอย่างหนึ่ง
คือโดยการนำเอาเนื้อไม้ไปฝังดินไว้ เนื้อไม้ที่ดีก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีดำ และกลิ่นหอมมันก็จะหอมด้วย"ไม้หอม (จันทบุรี-ตราด)
ลักษณะของเนื้อไม้
ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติ และเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างมาแต่โบราณแล้ว
ดังกล่าวถึงในมหาชาติ คำหลวงสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ.2025 ว่ามีทั้งกฤษณาขาว (เสตครู) และกฤษณาดำ (ตระคัร)
ซึ่งมีเนื้อไม้หอมเนื้อไม้กฤษณา ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนจะตรง เนื้อหยาบปานกลาง
เลื่อยผ่าได้ง่าย ขัดชักเงาไม่ได้ดี ไม่ค่อยทนทาน อยู่ในน้ำ จะทนทานพอประมาณ เมื่อแปรรูปเสร็จแล้ว ควรรีบกองผึ่งให้แห้งโดยเร็ว
ในการผึ่งจะมีการปริแตกได้ง่าย และมักจะถูกเห็ดราย้อมสีเกาะ ทำให้ไม้เสียสี
ส่วนเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่าง ๆ
ของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมี ของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว [Resin] อยู่มาก
สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิด คือ Dihydroagarofuran, b .Agarofuran, a -Agarofuran,
Agarospirol และ Agarol (มีชัย, 2532)
คุณภาพของกฤษณาในประเทศไทย ได้แบ่งเป็น 4 เกรด ดังนี้
เกรด 1 ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ลูกแก่น มีน้ำมันกฤษณาสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วเนื้อไม้ ทำให้มีสีดำ
มีราคาแพงมาก มีน้ำหนักเป็น 1.01 เท่าของน้ำ หนักกว่าน้ำ จึงจมน้ำ
เกรด 2 มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมรองจากเกรด 1 สีจะจางออกทางน้ำตาล  มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ
เกรด 3 มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมรองจากเกรด มีน้ำหนักเป็น 0.62 เท่าของน้ำ เบากว่าน้ำ จึงลอยน้ำ
เกรด 4 มีกลิ่นหอมและน้ำมันสะสมอยู่น้อย ใช้กลั่นน้ำมันหอมระเหย
มีน้ำหนักประมาณ 0.39 เท่าของน้ำ จึงลอยน้ำ ชนิดนี้ ชาวบ้านจะเรียกว่าไม้ปาก
ส่วนเนื้อไม้ปกติที่ไม่มีกฤษณาสะสมอยู่ จะมีน้ำหนักเพียง 0.3 เท่าของน้ำ
ประโยชน์ของไม้กฤษณา
"สารกฤษณา" มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ ได้แก่ agarwood (ยุโรป), aloeswood (สิงคโปร์), eaglewood (สหรัฐอเมริกา),gaharu (อินโดนีเชีย), oudh (อาหรับ),tram (เวียดนาม), jinko (ญี่ปุ่น),chen xiang (จีน) เป็นต้น (Phillips, 2003)
ปัจจุบันนอกจากชิ้นไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาที่เป็นสินค้าหลักในตลาดแล้วยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกฤษณาให้มีความหลากหลายขึ้น  เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากกลุ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์จากกฤษณาที่เป็นสินค้าวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในแถบเอเชีย เช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จากการสำรวจของ Phillips (2003) สามารถจำแนกได้ดังนี้
ท่อนไม้กฤษณา (agarwood branch or trunk section)
เป็นท่อนกฤษณาขนาดใหญ่ ซึ่ง เป็นส่วนของกิ่งหรือลำต้นที่มีการสะสมสารกฤษณาเป็นบริเวณพื้นที่กว้าง
ลักษณะเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ซึ่งจะเรียกว่าไม้เกรด 1 หรือ เกรดซุปเปอร์ (super agarwood) ราคาขายต่อกิโลกรัมจะสูงมาก จากหลักหมื่นจนถึงหลักแสนบาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของท่อนไม้นั้น ปัจจุบันนี้หาได้ยากมาก
เพราะเป็นกฤษณาที่ได้จากต้นไม้ที่เกิดในธรรมชาติเท่านั้น และมาจากต้นไม้มีอายุมาก ซึ่งมีการสะสมกฤษณามาเป็นเวลานานหลายปี
ส่วนใหญ่ท่อนกฤษณาลักษณะนี้อาจจะเห็นปรากฎอยู่ในวัด หรือคฤหาสถ์ของเศรษฐีเพื่อเป็นสิ่งแสดงความร่ำรวยมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของ

ชิ้นไม้ (agarwood pieces)เป็นชิ้นไม้กฤษณาขนาดเล็กๆดังนั้นจึงมีราคาถูกกว่าไม้ท่อนขนาดใหญ่ ใช้สำหรับจุดเผาเพื่
ให้มีกลิ่นหอมนิยมใช้จุดเพื่อต้อนรับแขกของชาวอาหรับและบางคนเชื่อว่าการดมกลิ่นควันจากการเผาชิ้นไม้กฤษณาจะทำให้รักษาโรค
บางอย่างได้
น้ำมันกฤษณา (agaroil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากกฤษณาเกรด3หรือเกรด4เนื่องจากการสะสมของสารกฤษณามีปริมาณน้อยกว่า
ไม่สามารถนำไปขายเป็นชิ้นไม้ได้หน่วยที่ใช้เรียกน้ำมันกฤษณา เรียกว่า โตรา (Tora) มีปริมาณประมาณ 12 กรัม  ประโยชน์ของน้ำมันกฤษณา คือ นิยมใช้ทาตัวของชาวอาหรับเพื่อให้มีกลิ่นหอมเป็นส่วนผสมของเครื่องยา
ผลิตภัณฑ์อื่น
 ได้แก่ ผงไม้ที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันกฤษณาแล้วนำไปทำธูปหอม ประเทศไต้หวันนำมาทำไวน์และนำมาปั้นเป็นก้อนผสมน้ำมันกฤษณาและส่วนผสมต่าง ๆให้มีกลิ่นหอม เรียกว่า "marmool" ซึ่งผู้หญิงชาวอาหรับนิยมใช้จุดเพื่อให้มีกลิ่นหอม
สนใจติดต่อ
Tel. 086-1038935 (Ning)









2 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมากครับ ขอบคุณ

    ตอบลบ
  2. รบกวนขอ Email ได้ไหมคะ เพราะไม่สะดวกโทร อยู่ต่างประเทศค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ

ผู้ติดตาม